ป่าชายหาดและป่าพรุ
- 21 พฤศจิกายน 2566
- 26
พื้นที่ป่าพรุ (ปี 2564)
พื้นที่ป่าพรุ
ป่าพรุเป็นสังคมพืชที่มีลักษณะเฉพาะตัว เกิดในพื้นที่ลุ่มต่ำหรือสภาพเป็นแอ่งน้ำจืดท่วมขังต่อกันเป็นเวลานาน มีพืชพรรณและสัตว์ชนิดต่าง ๆ อยู่จำนวนมาก ป่าพรุเป็นสังคมป่าดงดิบชนิดพิเศษชนิดหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะตัวประกอบด้วยซากพืชและอินทรียวัตถุทับถมรวมอยู่บนผิวดินหนาตั้งแต่ 0.5 – 5 เมตร หรือมากกว่า มีค่าความเป็นกรดด่าง 4.5 – 6 ในป่าพรุสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่มีคุณค่าทางด้านนิเวศวิทยาอย่างมหาศาล การทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติและนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความเสียหายต่อธรรมชาติป่าพรุอย่างร้ายแรง
ข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2563 พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าพรุอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 37,139.56 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่ 12 จังหวัดชายฝั่งทะเล โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าพรุมากที่สุด คือ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ป่าพรุจำนวน 12,814.98 ไร่ รองลงมาคือ จังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ป่าพรุจำนวน 8,650.15 ไร่ พรรณไม้ที่พบในป่าพรุ เช่น ช้างไห้ (Neesia malayana)ขี้หนอนพรุ (Campnosperma coriaceum) อ้ายบ่าวพรุ (Stemonurus secundiflorus) หลุมพี (Eleiodoxaconferta) เป็นต้น
พื้นที่ป่าพรุ จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ปี พ.ศ. 2563
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566