ขนาด
ปะการังเทียม
  • 16 กุมภาพันธ์ 2558
  • 107
ปะการังเทียม สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

วัตถุประสงค์การจัดวางปะการังเทียม

รูปแบบการจัดวางปะการังเทียมในประเทศไทย มีหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในการจัดวางจะต้องมีการพิจารณาเลือกพื้นที่ ต้องคํานึงถึงระบบนิเวศทางทะเลเป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์และรูปแบบการจัดวางปะการังเทียมอาจแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลัก คือ
          1. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์
          2. เพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง
          3. เพื่อป้องกันระบบนิเวศทางทะเลจากการทำประมง
          4. เพื่อเป็นแหล่งดำน้ำ
          5. เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

ซึ่งในการจัดวางจะต้องมีการพิจารณาเลือกพื้นที่ ต้องคํานึงถึงระบบนิเวศทางทะเลเป็นหลัก โดยอาจสามารถแบ่งการจัดวางปะการังเทียมตามวัตถุประสงค์และรูปแบบ ได้ดังนี้
1. เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเล รูปแบบการจัดวางจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วัสดุที่นําไป วางจะกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งการจัดวางรูปแบบนี้จะเป็นการสร้างแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ตัวอย่าง เช่น การจัดวางปะการัง เทียมในจังหวัดระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ตราด และนราธิวาส

2. เพื่อป้องกันเรือประมงอวนลากและอวนรุนในเขตชายฝั่ง ปะการังเทียมที่วางในรูปแบบนี้จะทําให้อวนขาด ส่งผลให้เรือประมงอวนลากและอวนรุนไม่กล้าเข้ามาทําการประมงในบริเวณดังกล่าวอีก โดยลักษณะการจัดวางปะการังเทียมจะจัดวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานกับแนวชายฝั่ง ตัวอย่างเช่น การจัดวางปะการังเทียมในจังหวัดระยอง สงขลา และสตูล

3. เพื่อการอนุรักษ์และป้องกันเรือประมงอวนลาก รูปแบบการจัดวางจะใช้รูปแบบการจัด วางเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเลผสมกับรูปแบบการจัดวางเพื่อป้องกันเรือประมงอวนลากและอวนรุนในเขตชายฝั่ง ตัวอย่างเช่น การจัดวางปะการังเทียมในจังหวัด ภูเก็ต พังงา เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และสตูล

4. เพื่อเพิ่มปริมาณปลาและหมึก โดยเลือกพื้นที่ที่เป็นแหล่งที่มีชาวประมงขนาดเล็กอาศัยอยู่แล้วซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนสัตว์น้ำ

5. เพื่อส่งเสริมการตกปลา โดยจะมีการจัดวางปะการังเทียมครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายหาดตัวอย่างเช่นบริเวณหาดคลองเทียนจังหวัดเพชรบุรี

6. เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรปลาผิวน้ำ ซึ่งเป็นการล่อปลาให้ปลาผิวน้ำเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณที่มีการจัดวาง การคัดเลือกพื้นที่ต้องอยู่ห่างจากชายฝั่งและมีระดับน้ำลึกพอประมาณระหว่าง 20-40 เมตร กระแสน้ำไหลไม่รุนแรง ตัวอย่างเช่น จังหวัดระยอง

7. เพื่อเป็นการสร้างจิตสํานึกและสร้างความร่วมมือของสมาชิกชาวประมงเรือเล็กและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ร่วมกันใช้ทรัพยากรทะเล ได้มาพบปะทํากิจกรรมร่วมกันซึ่งจะส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลได้มีโอกาสฟื้นตัว รวมไปถึงสภาพสังคม ควาเป็นอยู่และการประกอบอาชีพประมงดีขึ้นอย่างถาวร และยั่งยืน

8. เพื่อช่วยสนับสนุนมาตรการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง

9. เพื่อลดปัญหาการว่างงาน และการใช้แรงงานไม่เต็มที่ของชาวประมงพื้นบ้าน

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • เต่าทะเล
    เต่าทะเล
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • สมุทรศาสตร์
    สมุทรศาสตร์