ขนาด
ป่าชายเลน
  • 3 กรกฎาคม 2556
  • 18,094
ป่าชายเลน สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน

ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน
          ป่าชายเลน เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเลที่มีกระแสน้ำขึ้นลงอยู่เสมอ และน้ำมีความเค็มสูง ในบางพื้นที่ยังมีลมพัดแรงและแสงแดดจัด พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้จึงเป็นไม้ที่เจริญเติบโตภายใต้สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างไปจากสังคมพืชชนิดอื่น ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการของระบบราก ลำต้น ใบ ดอก และ ผลทั้งลักษณะภายในและภายนอกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน flower

การปรับตัวที่เห็นได้ชัดในสังคมพืชบริเวณป่าชายเลน
          การปรับตัวที่เห็นได้ชัดในสังคมพืชบริเวณป่าชายเลน คือ การมีรากค้ำจุน เนื่องจากดินป่าชายเลนเป็นดินเลนอ่อน และรากหายใจเนื่องจากใต้ผิวดินลงไปมีอากาศไม่เพียงพอ ใบของไม้ป่าชายเลนมีลักษณะพิเศษคือ มีต่อมขับเกลือ ใบอวบน้ำ แผ่นใบเป็นมัน และมีปากใบที่ผิวใบด้านล่าง มีผลงอกขณะที่ยังอยู่บนต้น ซึ่งผลเหล่านี้หลังจากที่หลุดจากต้นแม่ลงมาสู่พื้นดินแล้วจะทำให้ สามารถเจริญเติบโตทางความสูงได้อย่างรวดเร็ว

พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย
          
จากการรวบรวมของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปี 2555 มีรวม 81 ชนิด

1. โกงกางใบเล็ก Rhizophora apiculata

2. โกงกางใบใหญ่  Rhizophora mucronata

3. กระเพาะปลา Finlaysonia maritima

4. ขลู่ Pluchea indica

5. แคทะเล Dolichandrone spathacea

6. โคลงเคลงขน Melastoma villosum

7. งาไซ Pouteria obovata

8. จาก Nypa fruticans

9. จิกทะเล Barringtonia asiatica

10. จิกสวน Barringtonia racemosa

11. ชะคราม Suaeda maritima

12. ช้าเลือด Premna obtusifolia

13. แดงน้ำ Amoora cucullata

14. ต่อใส้ Allophyllus cobbe

15. ตะขบน้ำ Scolopia macrophylla

16. ตะบัน Xylocarpus rumphii

17. ตะบูนขาว Xylocarpus granatum

18. ตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis

19. ตาตุ่มทะเล Excoecaria agallocha

20. ตีนเป็ดทะเล Cerbera odollam

21. ตีนเป็ดทราย Cerbera manghas

22. เตยทะเล Pandanus odoratissimus

23. ถอบแถบน้ำ Derris trifoliate

24. ถั่วขาว Bruguiera cylindrica

25. ถั่วดำ Bruguiera parviflora

26. เทพี Caesalpinia crista

27. เทียนทะเล Pemphis acidula

28. ไทรย้อยใบทู่ Ficus microcarpa

29. น้ำนอง Brownlowia tersa

30. น้ำนองตรัง Cassine viburnifolia

31. นนทรี Peltophorum pterocarpum

32. เบญจมาศน้ำเค็ม Wedlia biflora

33. ใบพาย Aegialitis rotundifolia

34. ปรงทะเล Acrostichum aureum

35. ปรงหนู Acrostichum speciosum

36. ปอทะเล Hibiscus tiliaceus

37. เป้งทะเล Phoenix paludosa

38. โปรงขาว Ceriops decanadra

39. โปรงแดง Ceriops tagal

40. ฝาดดอกขาว Lumnitzera racemosa

 

41. ฝาดดอกแดง Lumnitzera littorea

42. พังกา-ถั่วขาว  Bruguiera hainesii

43. พังกาหัวสุมดอกขาว Bruguiera sexangula

44. พังกาหัวสุมดอกแดง Bruguiera gymnorrhiza

45. โพทะเล (ก้านสั้น) Thespesia populnea

46. โพทะเล (ก้านยาว) Thespesia populneoides

47. โพรงนก Rapanea porteriana

48. มะคะ Cynometra ramiflora

49. มะนาวผี (ผลกลม) Atalantia monophylla

50. มะนาวผี (ผลเหลี่ยม) Merope angulata

51. มะพลับ Diospyros areolata

52. มังคะ Cynometra iripa

53. รักทะเล Scaevola taccada

54. รังกะแท้ Kandelia candel

55. รามใหญ่  Ardisia elliptica

56. ลำเท็ง Stenochlaena palustris

57. ลำพู Sonneratia caseolaris

58. ลำพูทะเล Sonneratia alba

59. ลำแพน Sonneratia ovata

60. ลำแพนหิน Sonneratia griffithii

61. เล็บมือนาง Aegiceras corniculatum

62. สารภีทะเล Calophyllum inophyllum

63. สมอทะเล Sapium indicum

64. สักขี Dalbergia candenatensis

65. สำมะง่า Clerodendrum inerme

66. สีง้ำ Scyphiphora hydrophyllacea

67. เสม็ดขาว Melaleuca cajuputi

68. แสมขาว Avicennia alba

69. แสมขน Avicennia lanata

70. แสมดำ Avicennia officinalis

71. แสมทะเล Avicennia marina

72. หูกวาง Terminalia catappa

73. หงอนไก่ทะเล Heritiera littoralis

74. หงอนไก่ใบเล็ก Heritiera fomes

75. หยีน้ำ Derris indica

76. หลาวชะโอน Oncosperma tigillaria

77. หลุมพอทะเล Intsia bijuga

78. หวายลิง Flagellaria indica

79. เหงือกปลาหมอเครือ Acanthus volubilis

80. เหงือกปลาหมอดอกขาว Acanthus ebracteatus

81. เหงือกปลาหมอดอกม่วง Acanthus ilicifolius

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • วาฬ/โลมา
    วาฬ/โลมา
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล