ขนาด
ป่าชายเลน
  • 19 กรกฎาคม 2566
  • 573
ป่าชายเลน สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

สิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน (2564)

ประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน (Mangrove Benthic)
          จากการสำรวจสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลนจังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล พบสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 34 วงศ์ (Family) 66 ชนิด (Species)ความหนาแน่น 30 ตัวต่อตารางเมตร จังหวัดที่มีความหนาแน่นมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง 91 ตัวต่อตารางเมตร รองลงมา ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสตูล และจังหวัดจันทบุรี มีความหนาแน่นเท่ากับ 28, 24และ 23 ตัวต่อตารางเมตร ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ จังหวัดตรัง พบทั้งหมด 50 ชนิด รองลงมา ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดสตูล และจังหวัดระยอง พบทั้งหมด 33, 21 และ 18ชนิด (Species) ชนิดที่พบมากที่สุด คือ หอยขี้นกทราย (Pirenella cingulata) อยู่ในวงศ์ POTAMIDIDAEรองลงมาคือ หอยถั่วเขียว (Clithon oualaniensis) หอยหัวเข็มหมุด (Optediceros breviculum) และหอยทะนนลายแต้ม (Nerita balteata) ตามลำดับเมื่อพิจารณาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินทั้ง 7 จังหวัด พบว่า ปูแสมก้ามแดง (Arasesarmaeumolpe) เป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวที่พบในทุกจังหวัด นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน จำนวน 12 ชนิด ที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพการอนุรักษ์ตาม IUCN Red List (2016) ในระดับมีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ Least Concern (LC) ได้แก่ หอยหัวเข็มหมุด (Optediceros breviculum) หอยหูแมว(Cassidula aurisfelis) หอยหมาก (Ellobium aurisjudae) หอยโหลง (E. aurismidae) หอยถั่วเขียว (Clithon oualaniensis) หอยทะนนลายแต้ม (Nerita balteata) หอยน้ำ พริกปากส้ม (Neripteronviolaceum) หอยน้ำ พริก (Vittina coromandeliana) หอยเจดีย์น้ำจืด ( Faunus ater) หอยขี้กา(Telescopium) หอยเจดีย์ (Sermyla riqueti) และปลิงทะเลดำ (Holothuria leucospilota)

ประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน 7 จังหวัด

นกในป่าชายเลน
          จากการสำรวจนกใน 7 จังหวัด คือ ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล และนราธิวาสพบนกทั้งสิ้น 14 อันดับ (Order) 40 วงศ์ (Families) 96 ชนิด (Species) พบนกในอันดับนกเกาะคอน (OrderPASSERIFORMES) มากที่สุดพบทั้งสิ้น 37 ชนิด 25 สกุล 20 วงศ์ รองลงมา คือ อันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Order CHARADRIIFORMES) และอันดับนกตะขาบ (Order CORACIIFORMES) พบทั้งสิ้น 17 และ 12 ชนิดตามลำดับ โดยจังหวัดสตูลมีความหลากหลายชนิดของนกมากที่สุด พบทั้งสิ้น 59 ชนิด รองลงมาคือ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดกระบี่ พบ 52 และ 50 ชนิด ตามลำดับ

นกที่สำรวจพบในป่าชายเลน

รายชื่อนกที่สำรวจพบในพื้นที่ 7 จังหวัด

หมายเหตุ CTI = จันทบุรี RYG = ระยอง NRT = นครศรีธรรมราช NWT = นราธิวาส KBI = กระบี่ TRG = ตรัง STN = สตูล
สถานภาพตามฤดูกาลของนกอ้างตามสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2563) (BCST Checklist of Thai bird. Version September 2020) 1) นกประจำถิ่น (Resident: R) 2) นกอพยพ (Non- breeding visitor: N) 3) นกอพยพผ่าน (Passage migrant: P) 4) นกพลัดหลง มีรายงานเกิน 3 ครั้ง (Vagrant, non- breeding visitor with three records: V) 5) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรประจำถิ่นและอพยพ (Resident and winter visitor: R/N) 6) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพในฤดูหนาวและนกอพยพผ่าน (Non-breeding visitor or winter visitor/ Passage migrant: N/P) 7) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพ Endangered: CR) 4) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered: EN) 5) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) 6) ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) 7) เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) 8) ข้อมูลไม่เพียงพอ (Data Deficient: DD) 9) ไม่ได้รับการประเมิน (Not Evaluated: NE) มาทำรังวางไข่และนกอพยพผ่าน (Breeding visitor/Passagemigrant: B/P) 8) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพมาทำรังวางไข่และนกประจำถิ่น (Breeding visitor/ Resident: B/R) 9) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพผ่าน (Resident/ Passage migrant: R/P) 10) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพในฤดูหนาว นกอพยพผ่านและนกอพยพเพื่อมาสร้างรังวางไข่ (Non - breeding visitor or winter visitor/Passage migrant/Breeding visitor: N/P/B) การประเมินสถานภาพปัจจุบันของสัตว์ป่าตามการจัดสถานภาพทรัพยากรชีวภาพระดับประเทศของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2548) และตามสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ IUCN Red List (Version 2021-1) 1) สูญพันธุ์ (Extinct: EX) 2) สูญพันธุ์ในธรรมชาติ (Extinct in the Wild: EW) 3) ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CriticallyEndangered: CR) 4) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered: EN) 5) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) 6) ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) 7) เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) 8) ข้อมูลไม่เพียงพอ(Data Deficient: DD) 9) ไม่ได้รับการประเมิน (Not Evaluated: NE)

แมลงในพื้นที่ป่าชายเลน
          จากการศึกษาความหลากหลายของแมลงทั้ง 7 จังหวัด พบแมลงทั้งหมด 14 อันดับ (Orders) 113วงศ์ (Families) 383 ชนิด (Species) โดยอันดับที่พบจำนวนวงศ์มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับDIPTERA (กลุ่มแมลงวัน) พบจำนวน 25 วงศ์ รองลงมาเป็นอันดับ HYMENOPTERA (กลุ่มผึ้ง ต่อ แตน มด) พบจำนวน 23 วงศ์ และอันดับ HEMIPTERA (กลุ่มมวน จักจั่น และเพลี้ย) พบจำนวน 21 วงศ์ ตามลำดับ ส่วนจำนวนชนิดแมลงที่พบมากที่สุดเป็นแมลงในอันดับ HYMENOPTERA พบจำนวน 100 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 26.11 ของจำนวนชนิดที่พบทั้งหมด รองลงมาเป็นแมลงในอันดับ COLEOPTERA พบจำนวน 65 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 16.97 อันดับ LEPIDOPTERA พบจำนวน 58 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 15.14 ตามลำดับ

แมลงที่สำรวจพบในป่าชายเลน

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • ปูเสฉวนบก
    ปูเสฉวนบก
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin
  • ขยะทะเล
    ขยะทะเล
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • พื้นที่อนุรักษ์
    หมายถึง พื้นที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ นิเวศ หรือวัฒนธรรมที่ควรจะอนุรักษ์ไว้สำหรับลูกหลานในอนาคต พื้นที่คุ้มครองถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการของพื้นที่คุ้มครองจะมีความหลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ที่มีการจำกัดการเข้าถึงของประชาชนจนถึงพื้นที่ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับต่างกัน พื้นที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งพื้นที่บนบกและในทะเล
  • วาฬ/โลมา
    วาฬ/โลมา
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife