ป่าชายเลน
- 19 กรกฎาคม 2566
- 931
สถานภาพสังคมพืชป่าชายเลน (2564)
จากการสำรวจสังคมพืชป่าชายเลนโดยส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลน 96 ชนิด ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนแท้จริง 41 ชนิด 22 สกุล 14 วงศ์ (ไม้ยืนต้น และไม้พุ่ม 37 ชนิด 22 สกุล 14 วงศ์) ที่เหลือเป็นพันธุ์ไม้ป่าบกที่มาขึ้นร่วมกับพันธุ์ไม้ป่าชายเลน พันธุ์ไม้เด่นส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ไม้โกงกาง (Rhizophoraceae) ซึ่งประกอบด้วยพันธุ์ไม้ในสกุลไม้โกงกาง (Rhizophora) สกุลไม้พังกาหัวสุม (Bruguiera) สกุลไม้โปรง (Ceriops)และสกุลไม้รังกะแท้ (Kendelia) วงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) และวงศ์ไม้ตะแบก (Lythraceae) เป็นต้น ทั้งนี้มีการจำแนกหมวดหมู่ใน IUCN Red List (The IUCN Red List of Threatened Species. Version2020-2) จำนวน 64 ชนิด
ในปี 2564 ได้ดำเนินการสำรวจโครงสร้างป่าชายเลนในพื้นที่ 7 จังหวัด พบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งหมด15 วงศ์ (Families) 19 สกุล (Genus) 33 ชนิด (Species) (ตารางที่ 1.11) มีชนิดพันธุ์ไม้เด่น คือ โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) รองลงมาคือ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) ตะบูนดำ (Xylocarpus moluccensis) และแสมทะเล (Avicennia marina) ตามลำดับ โดยจังหวัดกระบี่พบชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนมากที่สุด 22 ชนิด รองลงมา คือ จังหวัดตรัง พบ 21 ชนิด และจังหวัดนครศรีธรรมราช พบ 18 ชนิด จังหวัดที่มีจำนวนพันธุ์ไม้น้อยที่สุด คือ จังหวัดระยองและจังหวัดสตูล พบเพียง 7 ชนิด ทั้งนี้สาเหตุที่จำนวนชนิดไม้ที่พบบริเวณจังหวัดตรังและสตูลมีจำนวนที่แตกต่างกันอาจเกิดจากจำนวนแปลงตัวอย่างที่ดำเนินการเก็บข้อมูลมีความแตกต่างกันเนื่องจากงบประมาณที่ได้รับ
ความหนาแน่นของต้นไม้ต่อพื้นที่พบว่า จังหวัดจันทบุรีมีความหนาแน่นมากที่สุดเท่ากับ 373.84 ต้นต่อไร่ รองลงมา คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ มีค่าความหนาแน่น 264.11 และ 217.78 ต้นต่อไร่ ตามลำดับ จังหวัดที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด คือ จังหวัดระยองมีค่า 98.13 ต้นต่อไร่ ไม้ป่าชายเลนในจังหวัดระยองมีขนาดความโตเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเท่ากับ 17.30 เซนติเมตร รองลงมา คือ จังหวัดตรัง และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเท่ากับ 15.99 และ12.11 เซนติเมตร ตามลำดับ จังหวัดจันทบุรีมีขนาดความโตเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเท่ากับ 8.98 เซนติเมตร ส่วนไม้ป่าชายเลนในจังหวัดตรัง มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 12.28 เมตร รองลงมา คือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสตูล เท่ากับ 10.81 และ 10.55 เมตร ตามลำดับ ไม้ป่าชายเลนจังหวัดนราธิวาส มีความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 6.41 เมตร ไม้ป่าชายเลนในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีปริมาตรไม้รวมมากที่สุด เท่ากับ 30.69 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ รองลงมาคือ จังหวัดตรังและจังหวัดระยอง เท่ากับ 25.56 และ 22.12ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนไม้ป่าชายเลนจังหวัดนราธิวาส มีปริมาตรไม้รวมน้อยที่สุดเท่ากับ 7.86ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
หมายเหตุ วิสัย T หมายถึง ไม้ต้น ST หมายถึง ไม้ต้นขนาดเล็ก S หมายถึง ไม้พุ่ม C หมายถึง ไม้เลื้อย H หมายถึง ไม้ล้มลุก IUCN Red list DD หมายถึง Data Deficient (ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะประเมิน) LC หมายถึง Least Concern (มีความเสี่ยงน้อย) NT หมายถึง Near threatened (ใกล้ถูกคุกคาม) VU หมายถึง Vulnerable (มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์) EN หมายถึง Endengered (ใกล้สูญพันธุ์) CR หมายถึง Critically Endengered (ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง)
สังคมพืชป่าชายเลน 7 จังหวัด (หมายเหตุ : DBH = เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย H = ความสูงเฉลี่ย H’ = Shannon-Wiener diversity index d = Margalef’s index J’ = Pielou’s evenness ข้อมูลโดย ส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน)
ผลผลิตมวลชีวภาพ
ผลผลิตมวลชีวภาพของต้นไม้ป่าชายเลนของจังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดนราธิวาส จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล มีค่ารวมเฉลี่ยเท่ากับ 33.65 ตันต่อไร่ แบ่งเป็นมวลชีวภาพเหนือดิน เท่ากับ 22.89 ตันต่อไร่ และมลชีวภาพใต้ดิน เท่ากับ 10.76 ตันต่อไร่ จังหวัดที่มีมวลชีวภาพสูงสุด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีมวลชีวภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 49.77 ตันต่อไร่ รองลงมา ได้แก่ จังหวัดตรังและจังหวัดระยอง มีมวลชีวภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 42.37 และ 35.07 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีมวลชีวภาพน้อยสุด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส มีค่าเท่ากับ 13.82 ตันต่อไร่ เมื่อนำค่าผลผลิตมวลชีวภาพมาคำนวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอน พบว่ามีค่ารวมเฉลี่ย 15.79 ตันคาร์บอนต่อไร่ แบ่งเป็นคาร์บอนเหนือพื้นดิน เท่ากับ 10.73 และ คาร์บอนใต้ดิน เท่ากับ 5.06 ตันคาร์บอนต่อไร่ ซึ่งปริมาณการกักเก็บคาร์บอนมีค่าแปรผันตามผลผลิตมวลชีวภาพ โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ยต่อพื้นที่มากที่สุด 23.38 ตันคาร์บอนต่อไร่ รองลงมา ได้แก่ จังหวัดตรัง และจังหวัดระยอง มีการกักเก็บคาร์บอนเท่ากับ 19.90 และ 16.42 ตันคาร์บอนต่อไร่ ตามลำดับ
ผลผลิตมวลชีวภาพเหนือดินของต้นไม้ป่าชายเลน 7 จังหวัด
การกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ป่าชายเลน 7 จังหวัด
ประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน (Mangrove Benthic)
จากการสำรวจสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลนจังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล พบสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 34 วงศ์ (Family) 66 ชนิด (Species)ความหนาแน่น 30 ตัวต่อตารางเมตร จังหวัดที่มีความหนาแน่นมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง 91 ตัวต่อตารางเมตร รองลงมา ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสตูล และจังหวัดจันทบุรี มีความหนาแน่นเท่ากับ 28, 24และ 23 ตัวต่อตารางเมตร ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ จังหวัดตรัง พบทั้งหมด 50 ชนิด รองลงมา ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดสตูล และจังหวัดระยอง พบทั้งหมด 33, 21 และ 18ชนิด (Species) ชนิดที่พบมากที่สุด คือ หอยขี้นกทราย (Pirenella cingulata) อยู่ในวงศ์ POTAMIDIDAEรองลงมาคือ หอยถั่วเขียว (Clithon oualaniensis) หอยหัวเข็มหมุด (Optediceros breviculum) และหอยทะนนลายแต้ม (Nerita balteata) ตามลำดับเมื่อพิจารณาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินทั้ง 7 จังหวัด พบว่า ปูแสมก้ามแดง (Arasesarmaeumolpe) เป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวที่พบในทุกจังหวัด นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน จำนวน 12 ชนิด ที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพการอนุรักษ์ตาม IUCN Red List (2016) ในระดับมีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ Least Concern (LC) ได้แก่ หอยหัวเข็มหมุด (Optediceros breviculum) หอยหูแมว(Cassidula aurisfelis) หอยหมาก (Ellobium aurisjudae) หอยโหลง (E. aurismidae) หอยถั่วเขียว (Clithon oualaniensis) หอยทะนนลายแต้ม (Nerita balteata) หอยน้ำ พริกปากส้ม (Neripteronviolaceum) หอยน้ำ พริก (Vittina coromandeliana) หอยเจดีย์น้ำจืด ( Faunus ater) หอยขี้กา(Telescopium) หอยเจดีย์ (Sermyla riqueti) และปลิงทะเลดำ (Holothuria leucospilota)
ประชาคมสิ่งมีชีวิตพื้นป่าชายเลน 7 จังหวัด
ความหลากหลายของนกในป่าชายเลน
จากการสำรวจนกใน 7 จังหวัด คือ ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สตูล และนราธิวาสพบนกทั้งสิ้น 14 อันดับ (Order) 40 วงศ์ (Families) 96 ชนิด (Species) พบนกในอันดับนกเกาะคอน (OrderPASSERIFORMES) มากที่สุดพบทั้งสิ้น 37 ชนิด 25 สกุล 20 วงศ์ รองลงมา คือ อันดับนกชายเลนและนกนางนวล (Order CHARADRIIFORMES) และอันดับนกตะขาบ (Order CORACIIFORMES) พบทั้งสิ้น 17 และ 12 ชนิดตามลำดับ โดยจังหวัดสตูลมีความหลากหลายชนิดของนกมากที่สุด พบทั้งสิ้น 59 ชนิด รองลงมาคือ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดกระบี่ พบ 52 และ 50 ชนิด ตามลำดับ
นกที่สำรวจพบในป่าชายเลน
รายชื่อนกที่สำรวจพบในพื้นที่ 7 จังหวัด (หมายเหตุ CTI = จันทบุรี RYG = ระยอง NRT = นครศรีธรรมราช NWT = นราธิวาส KBI = กระบี่ TRG = ตรัง STN = สตูล)
สถานภาพตามฤดูกาลของนกอ้างตามสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2563) (BCST Checklist of Thai bird. Version September 2020) 1) นกประจำถิ่น (Resident: R) 2) นกอพยพ (Non- breeding visitor: N) 3) นกอพยพผ่าน (Passage migrant: P) 4) นกพลัดหลง มีรายงานเกิน 3 ครั้ง (Vagrant, non- breeding visitor with three records: V) 5) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรประจำถิ่นและอพยพ (Resident and winter visitor: R/N) 6) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพในฤดูหนาวและนกอพยพผ่าน (Non-breeding visitor or winter visitor/ Passage migrant: N/P) 7) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพ Endangered: CR) 4) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered: EN) 5) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) 6) ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) 7) เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) 8) ข้อมูลไม่เพียงพอ (Data Deficient: DD) 9) ไม่ได้รับการประเมิน (Not Evaluated: NE) มาทำรังวางไข่และนกอพยพผ่าน (Breeding visitor/Passagemigrant: B/P) 8) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพมาทำรังวางไข่และนกประจำถิ่น (Breeding visitor/ Resident: B/R) 9) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพผ่าน (Resident/ Passage migrant: R/P) 10) นกที่มีทั้งกลุ่มประชากรเป็นนกอพยพในฤดูหนาว นกอพยพผ่านและนกอพยพเพื่อมาสร้างรังวางไข่ (Non - breeding visitor or winter visitor/Passage migrant/Breeding visitor: N/P/B) การประเมินสถานภาพปัจจุบันของสัตว์ป่าตามการจัดสถานภาพทรัพยากรชีวภาพระดับประเทศของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2548) และตามสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ IUCN Red List (Version 2021-1) 1) สูญพันธุ์ (Extinct: EX) 2) สูญพันธุ์ในธรรมชาติ (Extinct in the Wild: EW) 3) ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CriticallyEndangered: CR) 4) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered: EN) 5) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) 6) ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) 7) เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) 8) ข้อมูลไม่เพียงพอ(Data Deficient: DD) 9) ไม่ได้รับการประเมิน (Not Evaluated: NE)
ความหลากหลายของแมลงในพื้นที่ป่าชายเลน
จากการศึกษาความหลากหลายของแมลงทั้ง 7 จังหวัด พบแมลงทั้งหมด 14 อันดับ (Orders) 113วงศ์ (Families) 383 ชนิด (Species) โดยอันดับที่พบจำนวนวงศ์มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับDIPTERA (กลุ่มแมลงวัน) พบจำนวน 25 วงศ์ รองลงมาเป็นอันดับ HYMENOPTERA (กลุ่มผึ้ง ต่อ แตน มด) พบจำนวน 23 วงศ์ และอันดับ HEMIPTERA (กลุ่มมวน จักจั่น และเพลี้ย) พบจำนวน 21 วงศ์ ตามลำดับ ส่วนจำนวนชนิดแมลงที่พบมากที่สุดเป็นแมลงในอันดับ HYMENOPTERA พบจำนวน 100 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 26.11 ของจำนวนชนิดที่พบทั้งหมด รองลงมาเป็นแมลงในอันดับ COLEOPTERA พบจำนวน 65 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 16.97 อันดับ LEPIDOPTERA พบจำนวน 58 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 15.14 ตามลำดับ
แมลงที่สำรวจพบในป่าชายเลน
ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2566