ขนาด
ป่าชายเลน
  • 26 พฤศจิกายน 2561
  • 1,988
ป่าชายเลน สารสนเทศ ทช. ศูนย์ข้อมูลกลาง ทช.

สัตว์ในป่าชายเลน

          ในป่าชายเลนมีสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่หลากหลายชนิด ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นก แมลง สัตว์หน้าดิน เป็นต้น จากการรายงานพบกุ้งในป่าชายเลนหรือกุ้งที่อาศัยน้ำกร่อยมี 15 ชนิด กุ้งที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจสูง คือ กุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกุ้งบางชนิดที่ว่ายน้ำจากบริเวณน้ำจืดไปวางไข่บริเวณน้ำกร่อยที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม ปลาชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน มีรายงานว่ามีปลาชนิดต่างๆ รวมกันประมาณ 72 ชนิด ปูที่พบในป่าชายเลนมีอยู่หลายชนิด มีรายงานว่ามีอยู่ประมาณ 30 ชนิด ปูในป่าชายเลนส่วนใหญ่ ได้แก่ พวกปูแสม และปูก้ามดาบ สำหรับปูที่นิยมรับประทานเป็นอาหารและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ปูทะเล หอยที่สำรวจพบในป่าชายเลนมีทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา โดยส่วนใหญ่จะเป็นหอยฝาเดียวประมาณ 22 ชนิด ส่วนหอยสองฝาที่พบมีประมาณ 4 ชนิด ชนิดที่สำคัญและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือพวกหอยนางรม สัตว์ชนิดอื่นๆในป่าชายเลน นกในป่าชาเลนมีทั้งประเภทอพยพและนกท้องถิ่น ซึ่งจากการสำรวจ พบว่ามีถึง 88 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นนกยาง นกหัวโต นกแอ่น นกกระจิบ เป็นต้น สำหรับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมมีประมาณ 35 ชนิด และที่พบอยู่ทั่วไป ได้แก่ ลิง นาก แมวป่า และ ค้างคาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์เลื้อยคลานอีกประมาณ 25 ชนิด ซึ่งรวมทั้งงูชนิดต่างๆ กิ้งก่า เต่า จระเข้ และในป่าชายเลนยังมีแมลงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

  

  

  

 

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • อาณาเขตทางทะเล
    ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบก ที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด
  • ปะการังฟอกขาว
    ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • ทุ่นในทะเล
    ทุ่นในทะเล