วาฬ วงศ์ Delphindae
โลมาอิรวดี
โลมาอิรวดี, หัวบาตร โลมาน้ำจืด โลมาหัวหมอน (ภาษาใต้) และปลาข่า (ภาษาลาว)
Irrawaddy Dolphin, Orcaella brevirostris, (Owen in Gray, 1866)
สถานภาพ
- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535
- IUCN: Critically Endangered (ประชากรกลุ่มที่อยู่ในแหล่งน้ำจืด)
- Data Deficient (ประชากรใน Chilka Lake และประชากรกลุ่มอื่น)
- CITES: Appendix I
ขนาด
ตัวเต็มวัยยาว 1.73-2.75 ม. เพศผู้ใหญ่กว่าเพศเมียเล็กน้อย น้ำหนักเฉลี่ย 115-130 กก. ลูกแรกเกิดยาว 0.83-1 ม. น้ำหนัก 10-12 กก.
รูปร่าง
ไม่มีจะงอยปาก หัวกลมมน คล้ายโลมาหัวบาตรหลังเรียบมาก
สี
สีน้ำเงินเทาด้านหลังและสีเทาจางด้านท้อง
ฟัน
ฟันบน 8-19 คู่ และฟันล่างมี 11-18 คู่
ครีบหลัง
โค้งมน มีขนาดเล็ก และอยู่กึ่งกลางลำตัวค่อนไปทางหาง
ชีวประวัติ
ตั้งท้องประมาณ 14 เดือน อายุยืน 30 ปี
พฤติกรรม
พบเป็นกลุ่ม 2-15 ตัว สามารถโผล่ส่วนหัวขึ้นมองเหนือผิวน้ำได้ (Spyhopping) บางครั้งพ่นน้ำเพื่อไล่ต้อนปลา
อาหาร
ปลา กุ้ง และปลาหมึก โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรากินปลาดุกทะเลเป็นอาหาร โดยกัดกินเฉพาะส่วนของลำตัวที่อยู่ด้านหลังของครีบหลัง
ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย
แพร่กระจายในเขตอินโดแปซิฟิก ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด ประเทศไทยพบทั่วไปตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทย พบมากที่อ่าวตราด จ.ตราด อ่าวไทยตอนบน ในบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ และอ่าวไทยตอนกลาง ฝั่งทะเลอันดามันพบที่ จ.กระบี่ และตรัง กลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อาศัยในบริเวณตอนบนของทะเลสาบสงขลา