เต่าทะเลที่พบในน่านน้ำไทย
- 4 กันยายน 2556
- 337
เต่าหัวค้อน
ชื่ออังกฤษ
Loggerhead Turtle
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caretta caretta(Linneaus, 1758)
ชื่ออื่นๆ
เต่าตาแดง
สถานภาพ
- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535
- IUCN: Endangered
- CITES: Appendix I
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายเต่าหญ้าและเต่าตนุมากต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า มีจำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวนข้างละ 5 เกล็ด และเกล็ดคู่แรกอยู่ชิดติดกับเกล็ดขอบคอ ลักษณะรูปทรงของกระดองหลังจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้าย ลำคอหนาและสั้น เพศเมีย ตัวเต็มวัยโตเต็มที่ยาว 95 ซม. น้ำหนัก 120 กก.
ชีวประวัติและพฤติกรรม
ลูกเต่าแรกเกิดอาศัยอยู่ในกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรจนกระทั่งถึงวัยใกล้สืบพันธุ์จึงกลับสู่ชายฝั่งที่เป็นแหล่งฟักตัว
อาหาร
หอย ปู และหมึก
ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย
อาศัยใกล้ชายฝั่งน้ำตื้นมักอาศัยในเขตที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิมากกว่า 20ºC ประเทศไทย พบการเกยตื้นทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นประชากรเต่าทะเลจากแหล่งอื่นของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาอาศัยหรือหาอาหารในน่านน้ำไทย
แหล่งวางไข่
ไม่พบแหล่งวางไข่ในประเทศไทยแม้ในอดีตเคยมีรายงานพบเต่าหัวฆ้อนวางไข่ทางฝั่งทะเลอันดามัน แต่ปัจจุบันไม่พบเต่าหัวฆ้อนขึ้นมาวางไข่