ติดตามถานการณ์ปะการังฟอกขาว 2563
วันที่ 15 มีนาคม - 2 เมษายน 2563
สรุปจากการรวบรวมข้อมูล
ระหว่างวันที่ 15 มีนาคมถึง วันที่ 2 เมษายน 2563 ยังไม่มีรายงาน การเกิดปะการังฟอกขาวในน่านน้ำไทย โดยมีแนวโน้มอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีโอกาสที่จะเกิดปะการังฟอกขาวได้ในเดือนเมษายน – กรกฎาคม สถาบันฯ จะทำการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
ปะการังฟอกขาวคืออะไร
ปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็อาจจะเป็นได้ทั้งความเค็ม ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณตะกอนที่เพิ่มขึ้น ปริมาณธาตุอาหารในน้ำที่เพิ่มขึ้น จากน้ ำใช้ น้ำเสียที่ถูกปล่อยลงทะเล แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาวกระจายเป็นพื้นที่กว้างทั่วโลก คือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล เมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้ นปะการังจะเครียด ทำให้สูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี่ จนทำให้เรามองเห็นปะการังเป็นสีขาวซึ่ งเป็นสีของโครงสร้างหินปูน ปะการังเกิดฟอกขาว (มีสีขาว) ในระยะแรกเป็นปะการังที่ยังไม่ตายแต่เป็นช่วงที่ปะการังอ่อนแอเพราะขาดอาหาร ปะการังฟอกขาวอาจตายในที่สุดหากฟอกขาวเป็นระยะเวลานาน และในขณะเดียวกันปะการัง ที่ฟอกขาวก็อาจ ฟื้นตัวเองได้หากอุณหภูมิน้ำทะเลกลับสู่สภาวะปกติเร็ว
ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลและการพยากรณ์การเกิด ปะการังฟอกขาว
สถาบันฯ ทำการติดตามการเปลี่ยนของของอุณหภูมิน้ำทะเลอย่างใกล้ชิด มาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2563 จากข้อมูลดาวเทียมของ NOAA ผ่านเว็บไซต์ Coral Reef Watch ซึ่งมีการพยากรณ์ว่า มีโอกาสเกิดปะการังฟอกขาว 60% ช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563 บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน และชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตกตอนกลาง (รูปที่ 1) และต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม 2563 เริ่มมีการเตือนการเกิดฟอกขาวในระดับ “ watch” บริเวณทางตอนใต้ฝั่งทะเลอันดามัน (รูปที่ 2) ซึ่ง หมายถึงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาบริเวณดังกล่าวมีอุณหูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นบางช่วงเวลา และปะการังอาจได้รับผลกระทบ และขยายพื้นทีการเตือนการเกิดฟอกขาวในระดับ “watch” ไปในพื้นที่อ่าวไทย ฝั่งตะวันออกในวันที่ 1 เมษายน 2563 (รูปที่ 3)นอกจากนั้น สถาบันฯ ได้ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำทะเลทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลอุณหภูมิน้ำทะเลชายฝั่งบริเวณแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต และเกาะมันในจังหวัดระยองมีแนวโน้มค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 โดย มีอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนมีนาคมอยู่ ที่ 29.69ºC และ 30.73ºC ตามลำดับ (รูปที่ 4 และ 5)
วิเคราะห์อุณหภูมิน้ำทะเลและแนวโน้ม การเกิด ปะการังฟอกขาว
เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต อุณหภูมิน้ำทะเลฝั่งทะเลอันดามันเฉลี่ยรายเดือนในเดือนมีนาคม 2563 อยู่ในระดับที่สูงกว่าปีที่ไม่เกิดปะการังฟอกขาว และอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี พ.ศ. 2538 คือ อยู่ที่ประมาณ 29.65 ºC (รูปที่ 6) ซึ่งเป็นปีที่เกิดปะการังฟอกขาวในระดับปานกลาง (ในปี 2538 เริ่ม เกิดการฟอกขาวในเดือน ปลายเมษายน - ต้นเดือนพฤษภาคม)
ในปัจจุบัน จากข้อมูลการลงพื้นที่สำรวจของเจ้าหน้าที่ สวพ. ระหว่างวันที่ 15 มีนาคมถึง วันที่ 2 เมษายน 2563 จำนวนทั้งสิ้น 18 พื้นที่ แบ่งเป็นฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 13 สถานี ได้แก่ จังหวัด พังงา ภูเก็ต และ กระบี่ ฝั่ง ทะเลอ่าวไทยจำนวน 5 สถานี ได้แก่ จังหวัดระยอง ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ สงขลา ยังไม่พบหรือมีรายงานปะการังฟอกขาวในทุกพื้นที่ สำรวจ (รูปที่ 7) แต่คาดการณ์ได้ว่าอาจเริ่มเกิดการฟอกขาวในช่วงปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม ตามการพยากรณ์ขอ ง NOAA และการพิจารณาร่วมกับข้อมูลของพื้นที่ในอดีต
รูปที่ 1 การพยากรณ์การเกิดปะการังฟอกขาวของ Coral Reef Watch เดือนเมษายน – พฤษภาคม 2563
รูปที่ 2 การเตือนการเกิดปะการังฟอกขาวของ Coral Reef Watch ในเดือนมีนาคม 2563
รูปที่ 3 การเตือนการเกิดปะการังฟอกขาวของ Coral Reef Watch วันที่ 1 เมษายน 2563
รูปที่ 4 อุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณเกาะมันใน จังหวัดระยอง
รูปที่ 5 อุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต
รูปที่ 6 เปรียบเทียบอุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยรายเดือนในปีต่าง ๆ และในปีปัจจุบัน
รูปที่ 7 แผนที่แสดงสถานการณปะการังฟอกขาว ขอมูลระหว่างวันที่ 15 มีนาคม – 2 เมษายน 2563
ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
วันที่ : 21 เมษายน 2563