ขนาด
ติดตามถานการณ์ปะการังฟอกขาว 2562
  • 6 พฤษภาคม 2562
  • 1,292

ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2562

          สถานการณ์อยู่ในสถานะเตือนปะการังฟอกขาว ระดับที่ 1 โดยมีรายงานพบปะการังมีสีซีดจาง และฟอกขาวบางพื้นที่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน อันเป็นผลจากอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลที่สูงต่อเนื่องในต้นช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามพบอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงอย่างเนื่อง กอปรกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มพัดเข้าหาชายฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้อุณหภูมิล่าสุดในน่านน้ำไทยผ่อนคลายลงต่ำกว่า 30.5 องศาเซลเซียส

          อุณหภูมิผิวน้ำทะเล (SST) ในพื้นที่กลางอ่าวเบงกอลได้มีแนวโน้มเริ่มลดลงอย่างชัดเจน โดยพบว่าปรากฏการณ์ MJO (แนวปะทะของมวลอากาศเย็นและอากาศที่อุ่นที่มีวัฏจักรการเกิดอยู่ที่ 30-60วัน) เคลื่อนตัวไปทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียไปยังฝั่งตะวันตกและเข้าสู่อ่าวเบงกอลในช่วงปลายเดือนเมษายน ทำให้เกิดการเริ่มก่อตัวของฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งทำให้ค่า SST ในอ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน รวมทั้งอ่าวไทยก็จะมีค่าลดลงต่ำกว่า 30.5 องศาเซลเซียส โดยเริ่มปรากฏมีลมตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าหาชายฝั่งทะเลอันดามัน และเกิดฝนตกต่อเนื่องตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันแล้ว ทั้งนี้ลักษณะดังกล่าวนั้นน่าจะช่วยบรรเทาสถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

การติดตามอุณหภูมิน้ำทะเลปี 2562 
ที่มาข้อมูลจาก National Oceanic and Atmospheric Administrator (NOAA) และสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


สถานการณ์ปะการังฟอกขาว (4 - 11 พ.ค. 2562)
ที่มาข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน
วันที่ : 4 พฤษภาคม 2562

         

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • วาฬบรูด้า
    วาฬบรูด้า
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • ป่าชายเลน
    ป่าชายเลน
  • ปลานกแก้ว
    ปลานกแก้ว
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • น้ำมันรั่วไหล
    การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง