ติดตามถานการณ์ปะการังฟอกขาว 2562
การคาดการณ์ในปี 2562
การเฝ้าระวังการเกิดปะการังฟอกขาว ปี 2562
Degree Heating watch (DHW) – Cora reef watch (12 April 2019)
รูป
ระดับ DHW คือ จำนวนสัปดาห์ที่เจอค่าอุณหภูมิเฉลี่ยภายในหนึ่งสัปดาห์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของค่าอุณหภูมิสูงสุดของเดือน(maximum monthly mean) 1 องศาเซลเซียสที่พบในพื้นที่ทะเลอันดามันนั้นมีค่าประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งอยู่ในระดับที่เฝ้าจับตามองส่วนในอ่าวไทยไม่พบค่า DHW
Hotspot of coral bleaching คือ สูงกว่าค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายเดือนของเดือนเมษายน (maximum monthly mean)
ค่าคาดการณ์การณ์การเฝ้าติดตามการเกิดปะการังฟอกขาวในปี 2562
จากค่าคาดการณ์การเกิดปะการังฟอกขาวของ NOAA ในปี 2562 ตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (สิ้นสุดฤดูที่จะเกิดปะการังฟอกขาว) พบว่าสถานการณ์การเฝ้าติดตามในกลางเดือนเมษายน ในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนอยู่ในสถานะเฝ้ามอง (watch) และในปลายเดือนเมษายนอยู่ในสถานะเฝ้าระวังในทะเลอันดามัน. และเฝ้ามองในอ่าวไทยตอนบน ส่วนในเดือนพฤษภาคม 2562 ในต้นเดือนจะอยู่ในสถานะเดียวกับในปลายเดือนเมษายน และจะเข้าสู่สถานะเฝ้ามองทั้งในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน และหลังกลางเดือนพฤษภาคมสถานการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดปะการังฟอกขาวก็จะลดลงเรื่อง ๆ จากสถานการณ์ดังกล่าว การเกิดปะการังฟอกขาวเหมือนปี 2553 และ 2559 จึงมีความเป็นไปได้น้อย
NOAA coral reef watch 90% Probability Heat Stress
14 เมษายน 2562
NOAA coral reef watch 90% Probability Heat Stress
21เมษายน 2562
28เมษายน 2562
NOAA coral reef watch 90% Probability Heat Stress
5 พฤษภาคม2562
12 พฤษภาคม 2562
สถานะกาณณ์อุณหภูมิน้ำทะเล
สถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลในกลางเดือนเมษายน 2562 พบว่าทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีค่าส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 30 ถึง 31 องศาเซลเซียส
สำหรับอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตร้อนพบว่าส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่า 30.5 องศาเซลเซียส และมีมวลน้ำที่มีอุณหภูมิที่สูงประมาณ 30.5 – 31.0 องศาเซลเซียสอยู่บริเวณทางตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียและตอนใต้ของอ่าวเบนกอล
มวลน้ำอุ่นในตอนล่างของอ่าวเบนกอลจะเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณตอนกลางขออ่าวเบนกอลก่อนที่จะลดลงในช่วงเกิดมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงประมาณต้นเดือนถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2562
ข้อมูลจากทุ่นสมุทรศาสตร์ (RAMA Buoy in Central Bay of Bengal: Lat 12N and Lon 90E) เปรียบเทียบของปี 2559 (เป็นปีที่เกิดปะการังฟอกขาว) กับปี 2562 (ปีปัจจุบัน) พบว่าในช่วงเวลาเดียวกับของกลางเดือนเมษายน มีค่าอุณหภูมิในปีปัจจุบันต่ำกว่าในปี 2559 อยู่ 0.5 องศาเซลเซียส ซึ่งคาดว่าอุณหภูมิมีแนวโน้มจะขึ้นสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เกิดการก่อตัวของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในประมาณต้นเดือนถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2562 ด้วยอุณหภูมิที่คาดว่าน่าจะขึ้นถึง 31 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาสั้น ๆ (ลักษณะเดียวกับในปี 2560 และ 2561) โอกาสที่จะเกิดปะการังฟอกขาวจึงมีความเป็นไปได้น้อย
สำหรับค่าอุณหภูมิน้ำทะเลที่ได้จากการตรวจวัดในพื้นที่ทะเลอันดามัน
จากข้อมูลเฝ้าติดตามตรวจวัดอุณหภูมิน้ำน้ำทะเลในพื้นที่ต่าง ๆ ของทะเลอันดามันทุก ๆ 20 นาที ในช่วงต้นเดือนถึงกลางเดือนเมษายนพบว่าอุณหภูมิอุณหภูมิน้ำทะเลพบอยู่ในช่วง 30.0 – 30.5 องศาเซลเซียส โดยพบในชายฝั่งตะวันตกของเกาะเมียงและเกาะสุรินทร์มีค่าอุณหภูมิแกว่งขึ้นและลงในรอบวันสูงสุดถึง 4 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของคลื่นใต้น้ำที่นำมวลน้ำเย็นจากทะเลลึกเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่ง
ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน
วันที่ : 18 เมษายน 2562