Uncategorized
สถานการณ์
สถิติการบาดเจ็บรุนแรง (ผู้ป่วยหมดสติ) และเสียชีวิตจากแมงกะพรุนพิษ
การสัมผัสแมงกะพรุนพิษทำให้บาดเจ็บได้ในหลายระดับขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุนพิษและปริมาณพิษที่ได้รับ ทั้งนี้บริเวณที่สัมผัสมีอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่รู้สึกคัน มีผื่นเล็กน้อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่สัมผัสหรือได้รับพิษ ไปจนถึงทำให้หัวใจหรือระบบหายใจล้มเหลว
แมงกะพรุนพิษ ได้แก่ แมงกะพรุนกล่อง แมงกะพรุนไฟและแมงกะพรุนหัวขวด พิษของแมงกะพรุนไฟทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน เช่นเดียวกับพิษของแมงกะพรุนหัวขวด แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก และหายใจลำบากร่วมด้วย ขณะที่พิษจากแมงกะพรุนกล่อง ทำให้เสียชีวิตได้
จากข้อมูลสถิติของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542–เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรงจากแมงกะพรุนกล่อง
ความหลากหลายของแมงกะพรุน การแพร่กระจายและฤดูกาลของแมงกะพรุนพิษ
(ข้อมูลจากการ 1: สำรวจด้วยอวนลอยกุ้งสามชั้น 2: รวบรวมตัวอย่างที่ติดเครื่องมือประมง/ได้รับตัวอย่างจากเครือข่าย 3: สวิง 4: เกยตื้น 5: อวนลาก 6: อวนทับตลิ่ง 7: การพบเห็น 8: ได้รับแจ้งเหตุ 9: ข้อมูลออนไลน์)
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ไม่พบแมงกะพรุนพิษ
ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
วันที่ : 28 พฤษภาคม 2563