ขนาด
วาฬบรูด้า พฤติกรรม
  • 5 ธันวาคม 2556
  • 820

การนอน

          การนอนหลับของโลมาและวาฬ นั้นจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก (Drifting) มีการเคลื่อนไหวเฉพาะเวลาที่ต้องขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำ โลมาและวาฬ หลายชนิดจะนอนโดยที่ครีบข้าง (Flippers) แนบกับลำตัวและนอนเพียงงีบช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น โดยผลัดพักสมองด้านซ้ายและด้านขวาทีละข้าง (One brain hemisphere) ในขณะหลับจะลืมตาข้างหนึ่งอยู่ โดยมีสมองซีกที่ไม่หลับคอยระวังภัยหรือผู้ล่าในขณะที่จะขึ้นหายใจ และสมองต้องสั่งการเรื่องการขึ้นหายใจ ซึ่งผิดกับมนุษย์ที่การหายใจถูกควบคุมด้วยประสาทอัตโนมัติ สมองของมนุษย์จึงสามารถหลับได้เต็มที่ ข้อมูลที่ได้พบว่าโลมาและวาฬ มีการนอนโดยสมองหลับทีละข้างนั้นได้ทำการวิจัยในบ่อเลี้ยงโดยการติดตามคลื่นสมอง (Brain waves) แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในวาฬขนาดใหญ่

          ในบ่อเลี้ยงพบโลมานอนโดยเอาส่วนหัวพาดไว้ที่ขอบบ่อ หรือลอยตัวนิ่งๆ อยู่ใกล้ผิวน้ำ วาฬสีเทาในบ่อเลี้ยงมีการนอน 2 แบบ คือไม่เคลื่อนไหว ลอยตัวใกล้ผิวน้ำ ครีบแนบลำตัว ส่วนหางแตะพื้นบ่อ และนอนราบกับพื้นบ่อ ครีบแนบลำตัว วาฬหัวทุย (Sperm whale) นอนแบบลำตัวตั้งในแนวดิ่ง ส่วนหัวอยู่ปริ่มๆ ผิวน้ำ ขณะหลับวาฬจะหายใจช้าๆ ไม่ถี่เหมือนเวลาตื่นหรือขณะหากิน พฤติกรรมการหลับนี้จะมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก คล้ายกับปล่อยตัวให้ลอยนิ่งอยู่ที่ผิวน้ำ เราเรียกพฤติกรรมนี้ว่า Logging ซึ่งมองคล้ายๆกับท่อนซุงขนาดใหญ่ลอยในทะเล

          วาฬหัวทุยน่าจะเป็นสัตว์ที่ใช้เวลาในการนอนหลับน้อยที่สุด และการหลับแต่ละครั้งสมองจะหลับครั้งละซีกเดียว (ผลัดกันพัก) Dr.Luke Rendell จาก University of St Andrews ได้พบฝูงปลาวาหัวทุยซึ่งหลับลึกมาก จนเรือเข้าไปใกล้วาฬมาก วาฬก็ยังไม่รู้สึกตัว คาดว่าวาฬหัวทุยมีพฤติกรรมหลับสนิทมาก (Sleep fully) ในขณะที่ลอยตัวนิ่งๆ ใกล้ผิวน้ำ และที่ระดับน้ำลึก 10 ม. การหลับโดยลอยตัวนิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวและขึ้นหายในแต่ละครั้งนานประมาณ 10-15 นาที (ไม่ทราบว่ามีการลืมตาข้างหนึ่งหรือไม่)

brydeswhale37

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • ThaiToxicMarineLife
    ThaiToxicMarineLife
  • วาฬ/โลมา
    วาฬ/โลมา
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม
  • เต่ามะเฟือง
    เต่ามะเฟือง
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • แมงกะพรุนพิษ
    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) เช่นเดียวกันกับดอกไม้ทะเล (sea anemones) และปะการัง แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยที่สุดจัดอยู่ในกลุ่ม Scyphozoa
  • PMBC Special Publication
    PMBC Special Publication
  • PMBC Research Bulletin
    PMBC Research Bulletin