ขนาด
วาฬบรูด้า พฤติกรรม
  • 5 ธันวาคม 2556
  • 858

ความเร็วการว่ายน้ำ

          ความเร็วของการว่ายน้ำนั้นขึ้นกับกิจกรรมในขณะนั้น โลมาและวาฬจะว่ายน้ำด้วยความเร็วสูงเมื่อต้องการล่าเหยื่อหรือหลบหนีศัตรู ว่ายน้ำด้วยความเร็วต่ำใช้ในขณะกินอาหารและเดินทางไกล การศึกษาเรื่องความเร็วของโลมาและวาฬส่วนใหญ่จะศึกษากันในบ่อเลี้ยง ข้อมูลจากธรรมชาตินั้นมีน้อยมาก แม้จะมีการศึกษาโดยเรือสำรวจ เครื่องบิน หรือแม้แต่สังเกตจากชายฝั่ง แต่ก็ยังไม่ใช่ความเร็วที่แท้จริงของมัน เพราะขาดจุดอ้างอิงที่แน่นอน พร้อมทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความเร็วของกระแสน้ำ ความเร็วเรือ ความเที่ยวตรงของนาฬิกาจับเวลา เป็นต้น การศึกษาโดยการติดเครื่องหมายสัญญาณดาวเทียม (Satellite tag) ก็เป็นข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง เป็นการคำนวณจากระยะทางที่เป็นเส้นตรง แต่ในความเป็นจริงโลมาและวาฬไม่ได้ว่ายน้ำเป็นเส้นตรง 

          ความเร็วในการว่ายน้ำของโลมาและวาฬแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1) การว่ายน้ำด้วยความเร็วคงที่ (Sustained swimming) และ 2) การว่ายน้ำด้วยความเร็วสูง (Sprint swimming) ปกติสัตว์พวกนี้จะว่ายน้ำแบบ Sustained swimming เป็นความเร็วในระดับต่ำ เพื่อหาอาหาร เดินทาง และกิจกรรมอื่น ส่วนการว่ายน้ำแบบ Sprint swimming นั้นใช้ในกรณีหนีการไล่ล่า หรือตัวโลมาและวาฬเองที่ต้องการเร่งความเร็วขึ้น

          วาฬชนิดที่ไม่มีฟัน (Baleen whales) จะว่ายน้ำด้วยความเร็วคงที่ในช่วง 1.8-13.0 กม./ชม. ซึ่งใช้ในขณะกรองกินอาหาร (Filter feeding) ความเร็วสูงสุดของการว่ายน้ำประมาณ 7.6-48.2 กม./ชม. วาฬที่อยู่ในวงศ์ Balaenopteridae ซึ่งรวมวาฬบรูด้าด้วยนั้น เป็นกลุ่มวาฬที่มีความเร็วในการว่ายน้าสูงกว่า Baleen whales ในวงศ์อื่น เนื่องมาจากการมีรูปร่างที่เพรียวกว่าชนิดอื่นๆ วาฬบรูด้าว่ายน้ำด้วยความเร็วประมาณ 7-30 กม./ชม.

          ส่วนโลมาและวาฬที่มีฟัน (Toothed whales) มีความเร็วสูงสุดของการว่ายน้ำในช่วง 5.4-55.1 กม./ชม. โลมาและวาฬในวงศ์ Delphinidae ว่ายน้ำได้เร็วที่สุด ในขณะที่วงศ์ Platanistidae (Ganges and Indus river dolphins) เป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำช้าที่สุด

brydeswhale36
brydeswhale37
องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • อุทยานใต้ทะเล
    อุทยานใต้ทะเล
  • นกในเขตชายฝั่งทะเล
    นกในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • หญ้าทะเล
    หญ้าทะเล
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • ปลาฉลามวาฬ
    ปลาฉลามวาฬ
  • พ.ร.บ. ทช.
    พ.ร.บ. ทช.
  • กัดเซาะชายฝั่ง
    ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,040 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,111 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด
  • ปะการังเทียม
    ปะการังเทียม