ขนาด
วาฬบรูด้า พฤติกรรม
  • 5 ธันวาคม 2556
  • 1,505

การหายใจ

          สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดต้องการออกซิเจนไปใช้ในขบวนการเมตาบอลิซึม(Metabolism, การเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน) ในโลมาและวาฬก็เช่นกัน กิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม (Marine mammals) นั้น ส่วนใหญ่อยู่ใต้น้ำ เช่น กินอาหาร ผสมพันธุ์ ดังนั้นจึงมีการปรับตัวให้ใช้เวลาในการหายใจเหนือผิวน้ำน้อยที่สุดแต่สามารถรับออกซิเจนได้มากที่สุด ในการขึ้นมาเหนือผิวน้ำแต่ละครั้งของโลมา วาฬ สิงโตทะเล พะยูน และมานาตี ส่วนใหญ่แล้วจะหายใจเพียงครั้งเดียวเท่านั้น สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดก็มีขนาดความจุของปอดเมื่อเทียบกับขนาดตัวไม่ต่างจากสัตว์บก เช่น มานาตี แต่โลมาและวาฬในกลุ่ม Delphinids มีปอดใหญ่มาก ปกติสัตว์บกจะหายใจเอาอากาศเข้าไปในปอดครั้งหนึ่งๆ ได้ประมาณ 10-15% ของความสามารถในการจุอากาศของปอด แต่ในสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจะหายใจเอาอากาศเข้าปอดครั้งหนึ่งๆ ได้มากกว่า 75% ของความจุอากาศของปอด นอกจากนี้ในภาวะที่จำเป็น ปอดของสัตว์บกไม่สามารถรับอากาศได้มากกว่า 75% ของความจุอากาศ แต่ในขณะที่ปอดของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมสามารถจุอากาศได้มากถึง 90% ของความจุปอด ความสามารถในการจุอากาศนี้เนื่องจากสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมมีปอดที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าและกระดูกซี่โครงที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนมากกว่าสัตว์บกนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้นคือปอดของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมสามารถยุบและพองใหม่ได้ตลอดเวลา แต่สำหรับสัตว์บกการที่ปอดยุบเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องได้รับการรักษาเลยทีเดียว

ลักษณะการขึ้นหายใจ (Pattern of Breathing)
          การหายใจของวาฬบรูด้า ปกติจะโผล่ส่วนหัวที่มีช่องหายใจสองช่องขึ้นเหนือผิวน้ำ หายใจออกอย่างแรง จะเห็นละอองน้ำพุ่งขึ้นสูง 3-4 ม.ที่เรียกว่า Blow แล้วหายใจเข้า ดำน้ำลงไป ขณะดำน้ำลงจะเห็นส่วนหลัง ครีบหลัง และส่วนหลังครีบหลังอีกเล็กน้อยโผล่เหนือน้ำแล้วจมตัวลง ซึ่งปกติจะไม่ยกแพนหางขึ้นเหนือผิวน้ำ การยกแพนหางขึ้นเหนือผิวน้ำหลังการหายใจพบในวาฬไซ (Sei whale) และวาฬหลังค่อม (Humpback whale)

          การยกส่วนแพนหางในวาฬบรูด้ามักเกิดควบคู่กับการใช้แพนหางตีน้ำในการให้เหยื่อรวมกลุ่ม หรือในขณะที่ต้องการดำน้ำลึก สีด้านล่างของหางเป็นสีอ่อนแต่ในขณะที่ใช้พลังงานมากจะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากจนเห็นเป็นสีชมพูเข้ม

          นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่าเมื่อวาฬโผล่ขึ้นหายใจในระยะใกล้เรือ จะได้กลิ่นของลมหายใจออก (Blow) ซึ่งมีกลิ่นแรง

ลักษณะการขึ้นหายใจของวาฬบรูด้า ตามลำดับ 1 ถึง 6

ลักษณะการขึ้นหายใจของวาฬบรูด้า ตามลำดับ 1 ถึง 6

รูหายใจ 2 ช่อง เปิดออกในขณะที่หายใจออก และหายใจเข้า

รูหายใจ 2 ช่อง เปิดออกในขณะที่หายใจออก และหายใจเข้า และลักษณะการหายใจออกเหนือ ผิวน้ำจะเห็นละอองน้ำ (Blow) พุ่งขึ้นไปสูง 3-4 เมตร

ปกติวาฬบรูด้าจะไม่ยกแพนหางขึ้นหลังการหายใจสีด้านล่างของหางเป็นสีอ่อน

ปกติวาฬบรูด้าจะไม่ยกแพนหางขึ้นหลังการหายใจสีด้านล่างของหางเป็นสีอ่อน แต่ในขณะที่ใช้พลังงานมาก จะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากจนเห็นเป็นสีชมพูเข้ม

การหายใจออก (Blowing)
          การหายใจออก (Blow) เป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ง่ายในวาฬ การ Blow แสดงถึงการหายใจออกจนหมดปอดและพร้อมที่จะหายใจเข้า

          Blow ที่เห็นเกิดจากการผสมกันระหว่างไอน้ำ (Vapor) ในปอด และน้ำทะเลบริเวณใกล้ๆ รูหายใจที่ถูกพ่นขึ้นไปในมวลอากาศ ขณะที่วาฬหายใจออกมาที่บริเวณผิวน้ำ (บางครั้งมีการ Blow ใต้น้ำด้วย (Underwater blow) หากมองจากมุมสูงเราจะสังเกตเห็นฟองอากาศลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำ) การหายใจออกจะเร็วและแรง ส่วนการหายใจเข้าจะใช้เวลานานกว่าเวลาที่ใช้หายใจออกเล็กน้อย แต่อาจสังเกตได้ไม่ชัดเจนเท่าการกับการหายใจออก หรือ Blow โลมาใช้เวลาในการหายใจออกประมาณ 0.3 วินาที ส่วนวาฬใช้เวลานานประมาณ 1-2 วินาที พบว่าในลูกวาฬสีเทา (Gray whale) อายุ 10 เดือนมีความจุของปอด 200 ลิตร และวาฬสีน้ำเงิน (Blue whale) ขนาดใหญ่มีปอดจุมากถึง 5,000 ลิตร

          วาฬบรูด้ามีการ Blow สูงประมาณ 3-4 ม. จากการสำรวจจะสังเกตการ Blow ของลูกที่ตัวขนาดเล็ก (4-6 ม.) ได้ค่อนข้างยาก ซึ่งอาจเนื่องมาจากมีการ Blow ใต้น้ำและขึ้นหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว หรือตัวแม่อาจบังตัวลูกอยู่ หรืออาจมาจากคลื่นสูง ทำให้การสังเกตยากขึ้น บางครั้งหายใจออกใต้น้ำและโผล่ส่วนหัวเล็กน้อยเพื่อหายใจเข้า ในกรณีนี้จะไม่เห็นการ Blow ที่ชัดเจน หรือไม่เห็นเลยในกรณีที่อยู่ลึก หรือกรณีของลูกที่มีขนาดเล็กซึ่งมี Blow ขนาดเล็กตามไปด้วย หากหายใจออกใต้น้ำ และขึ้นมาหายใจเข้าที่ผิวน้ำ จะสังเกตเห็นได้ยากมากเช่นกัน จนบางครั้งทำให้เราคิดว่าลูกดำน้ำได้นานกว่าแม่ ซึ่งแท้จริงแล้วอาจจะไม่ใช่

การหายใจออก (Blow) ขณะว่ายน้ำเดินทาง หรือหาอาหาร

การหายใจออก (Blow) ขณะว่ายน้ำเดินทาง หรือหาอาหาร

การหายใจออก (Blow) หลังการฮุบเหยื่อ(Lunging) สูงมากกว่าขณะหายใจปกติ

การหายใจออก (Blow) หลังการฮุบเหยื่อ(Lunging) สูงมากกว่าขณะหายใจปกติ

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ
  • เกาะในประเทศไทย
    เกาะ หมายถึง บริเวณที่ดิน หิน หรือทรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำและอยู่เหนือน้ำตลอดเวลา ทั้งนี้เกาะอาจอยู่ในทะเล แม่น้ำ หรือที่ลุ่มขัง เช่น บึง หรือทะเลสาบก็ได้
  • คลื่นย้อนกลับ Rip Currents
    กระแสน้ำรูปเห็ด
  • ความหลากหลายชีวภาพ
    ความหลากหลายชีวภาพ
  • พะยูน : มาเรียม
    พะยูน : มาเรียม
  • น้ำทะเลเปลี่ยนสี
    ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากการเพิ่มปริมาณสารอาหารบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณสารอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
  • หาดในประเทศไทย
    จากการสำรวจแหล่งธรรมชาติประเภทหาดทรายทั่วประเทศ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปี 2560 พบว่ามีชายหาดรวม 521 แห่ง กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยอยู่ทางฝั่งอ่าวไทย 360 แห่ง แบ่งเป็นชายหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) 49 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ เช่น ท้องถิ่น กองทัพเรือ และส่วนราชการอื่นๆ อีก 311 แห่ง สำหรับข้อมูลชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน พบว่ามีชายหาด 161 แห่ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 78 แห่ง นอกเขตอุทยานแห่งชาติ 83 แห่ง
  • ปะการัง
    เป็นแนวหินปูนใต้ทะเลในระดับน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง หินปูนดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของปะการังหลายๆ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  • ที่ดินชายฝั่ง
    ที่ดินชายฝั่ง
  • ปฏิทินทะเล
    ปฏิทินทะเล