Uncategorized
วาฬหัวแตงโม
วาฬหัวแตงโม
Melon-headed Whale, Peponocephala electra, (Gray, 1846)
สถานภาพ
- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535
- IUCN: Least Concern
- CITES: Appendix II
ขนาด
โตเต็มที่ยาว 2.78 ม. และหนัก 275 กก. ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 ม.
รูปร่าง
ค่อนข้างใหญ่ เมื่อมองจากด้านบนเห็นส่วนหัวรูปสามเหลี่ยม ครีบข้างเรียวปลายแหลมตั้งตรงออกจากลำตัว
สี
ลำตัวสีดำ คางและใต้ท้องแนวสะดือและช่องเพศสีขาว แถบสีจางตั้งแต่ช่องหายใจไปจนถึงปลายปาก ขอบปากขาว หน้ามีสีดำรูปสามเหลี่ยม
ฟัน
ซี่เล็ก เรียวแหลม มี 20-25 คู่ บนขากรรไกรบนและล่าง
ครีบหลัง
สูง เว้า และอยู่เกือบกึ่งกลางลำตัว
ชีวประวัติ
ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 11.5 ปี (ยาว 2.35ม.) ส่วนตัวผู้อายุ 16.5 ปี (ยาว2.44 ม.) ออกลูกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ระยะหย่านม 9-12 เดือน
พฤติกรรม
ว่ายน้ำเร็ว ชอบรวมกลุ่มเป็นฝูงใหญ่ จำนวน 100-500 ตัว อาจมากถึง 2,000 ตัว พบรวมกับโลมาชนิดอื่น เช่น โลมาฟราเซอร์ เป็นต้น โลมาชนิดนี้มักมีการเกยตื้นหมู่ (Mass strandings) และพบการเกยตื้นหมู่มากที่สุดถึง 250 ตัว
อาหาร
ปลาขนาดเล็ก และปลาหมึก บางครั้งกินกุ้งเป็นอาหาร
ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย
เช่นเดียวกับวาฬเพชฌฆาตเล็ก น้ำลึกในเขตร้อนและกึ่งร้อน ระหว่างเส้นรุ้งที่ 40oN-35oS ประเทศไทยพบที่ซากเกยตื้นที่ จ.ชลบุรีและสงขลา