ขนาด
Uncategorized
  • 14 ตุลาคม 2556
  • 171

วาฬนำร่องครีบสั้น

วาฬนำร่องครีบสั้น

Short-fined Pilot Whale, Globicephala macrorhynchus, (Gray, 1846)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Lower Risk/Conservation Dependent

- CITES: Appendix II

วาฬนำร่องครีบสั้น

ขนาด

ตัวผู้ยาว 7.2 ม. หนัก 2-3.6 ตัน ตัวเมียยาว 5.5 ม. หนัก 1.2 ตัน ลูกแรกเกิดยาว 1.4-1.9 ม. หนัก 60 กก.

รูปร่าง

ลำตัวกลมยาว หน้าผากโป่งนูนชัดเจน ครีบข้างหักโค้งขนานกับลำตัว ปลายเรียวแหลม

สี

น้ำตาลดำหรือเทา แถบสีจางที่คางและท้องแถบสีจางรูปอานที่หลังครีบหลัง

ฟัน

ซี่ใหญ่ สั้น ปลายแหลมจำนวน 7-9 คู่ บนขากรรไกรบนและล่าง

ครีบหลัง

โค้งลาดและฐานกว้าง อยู่ค่อนมาทางส่วนหัว

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์เพศเมียเมื่ออายุ 8-9 ปี และเพศผู้เมื่ออายุ 13-17 ปี ตั้งท้องนาน 15 เดือน ทิ้งระยะห่างทุกๆ 3-4 ปี อายุยืนอย่างน้อย 63 ปี

พฤติกรรม

รวมกลุ่มครั้งละหลายร้อยตัว ชอบลอยตัวที่ผิวน้ำ มักพบรวมฝูงกับชนิดอื่นๆ เช่น โลมาปากขวด โลมาริสโซ และวาฬหัวทุย

อาหาร

ปลา และปลาหมึก

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

ชายฝั่งเขตร้อนอ่าว และไหล่ทวีป หรือร่องน้ำลึกระหว่างเส้นรุ้งที่ 50oN - 40oS ประเทศไทยพบฝูงวาฬนอกชายฝั่ง จ.พังงา 2 ครั้ง โดยเรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 พบซากเกยตื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2544 และเกยตื้นมีชีวิตที่ จ.นราธิวาส ในปีพ.ศ. 2536 และ จ.นครศรีธรรมราช พ.ศ. 2553

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

องค์ความรู้ที่น่าสนใจ